แบตเตอรี่รถยนต์สำคัญไฉน


           แบตเตอรี่รถยนต์ถือเป็นหัวใจหลักของระบบไฟฟ้ารถยนต์ ทำหน้าที่เป็นแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าไปยังระบบสตาร์ท ระบบจุดระเบิดและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ในรถยนต์  เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ระบบการทำงานของแบตเตอรี่


แบตเตอรี่สามารถคายประจุและเก็บประจุได้ในตัวเองแบตเตอรี่ประกอบด้วย แผ่นโลหะที่เป็นขั้วบวกและลบแช่อยู่ในสารละลายอิเล็คโตรไลท์ (น้ำกรดซัลฟิวริค) ซึ่งจะทำปฏิกิริยาเคมีกับแผ่นธาตุ ก่อเกิดเป็นกระแสไฟขึ้นเรียกว่า "Discharging" (การจ่ายกระแสไฟฟ้าออกจากแบตเตอรี) และเมื่อมีการสะสมกระแสไฟฟ้าเหล่านี้ที่แบตเตอรี่) เราเรียกว่า "Charging" (การประจุไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่)

แบตเตอรี่ที่ใช้กับรถยนต์ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 แบบ

1. แบบธรรมดา (Lead-Acid)


ซึ่ง ทำงานโดยให้แผ่นธาตุบวก และลบแช่อยู่ในสารละลายอิเล็คโตรไลท์ (น้ำกรดซัลฟิวริค) แล้วทำปฏิกิริยาเคมีเกิดเป็นกระแสไฟฟ้าขึ้น แบตเตอรี่แบบ นี้ต้นทุนไม่แพงมาก ง่ายต่อการผลิตและการเก็บรักษา เพียงเติมน้ำกรดและน้ำ กลั่น วัดค่าความถ่วงจำเพราะให้ได้ตามที่ระบุไว้ จากนั้นก็ทำการชาร์จไฟให้ เคมีต่างๆ ในตัวแบตนั้นทำปฏิกิริยาจนกระทั่งมีประจุไฟเต็ม ก็จะนำไปใช้งาน ได้ แต่มีข้อเสียตรงที่ต้องระวังเรื่องตำแหน่งของการติดตั้ง เนื่องจาก แบตเตอรี่ชนิดนี้ต้องมีรูระบายไอของน้ำกรด ซึ่งมีฤทธิ์กัดกร่อนสีหรือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในห้องเครื่อง อีกทั้งยังต้องตรวจเช็คระดับน้ำกรดในหม้อแบต ฯ บ่อย เนื่องจากการสูญเสียน้ำในระบบค่อนข้างสูงหรือหากจอดรถทิ้งไว้นาน ๆ แบตเตอรี่จะมีการคายประจุตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องคอยตรวจเช็คอย่างสม่ำ เสมอ โดยหากไม่มีการใช้รถเป็นเวลานาน ๆ ควรสตาร์ทบ้างเป็นครั้งคราว เพื่อกระตุ้นแบตเตอรี่ ให้มีกระแสไฟฟ้าไหลเข้า-ออกให้ครบวงจร

2. แบบเมนเทนแนนซ์ฟรี (MF : Maintenance Free) 


หรือ “แบตเตอรี่ที่ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น (บ่อย)” ซึ่งได้รับการพัฒนาต่อมาจากแบตเตอรี่แบบธรรมดาด้วยการปรับปรุงใน ส่วนของแผ่นธาตุมาใช้แบบ “ตะกั่วแคลเซี่ยม”(Pb-Ca) ใน ส่วนของแผ่นกั้นที่ใช้วัสดุที่มีความต้านทานไฟฟ้าต่ำ ลดการสูญเสียประจุ ไฟฟ้ารวมไปถึงจุกปิด ที่ออกแบบให้ทำหน้าที่ดักไอน้ำภายในแบตเตอรี่ เพื่อให้ เกิดการสูญเสียน้ำน้อยที่สุด เพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้ด้วยโครงแผ่น ธาตุที่เปลี่ยนมาใช้แบบ “ตะกั่วแคลเซียล” ที่ให้อายุการใช้งานทนทานกว่าแบตเตอรี่ทั่วไปถึง 25% อัตรา การสูญเสียน้ำภายในระบบต่ำ และสามารถติดตั้งได้หลายตำแหน่ง ไม่จำกัดว่าจะ ต้องเฉพาะที่ด้านหน้ารถ เนื่องจากว่าไม่มีรูระบายไอน้ำกรดอย่างแบตเตอรี่ ธรรมดา ช่วยป้องกันความเสียหายจากไอน้ำกรดอย่างแบตเตอรี่ธรรมดา ช่วยป้องกัน ความเสียหายจากไอน้ำกรดที่จะมาทำลายพื้นผิวต่าง ๆ ทำให้สามารถเลือกตำแหน่งติดตั้งได้มากกว่า และยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพรถและ คนน้อยกว่าด้วย ถึงจะมีราคาแพงกว่าแต่ก็ไม่ต้องตรวจเช็คบ่อย ๆ และไม่ยุ่งยาก เนื่องจากมักจะมีตาแมว (Indicator) บอกสถานะกำลังไฟ และระดับน้ำกลั่นของแบตเตอรี่มาให้แล้ว แต่อย่างไรเสียก็ไม่ควรละเลยในส่วน นี้ หากพบว่าระดับน้ำกลั่นลดลงมาก ๆ ก็ควรจะเติมน้ำกลั่นเพิ่มให้ได้ระดับหรือนำไปอัดไฟเพิ่ม ถึงแม้จะเรียกว่า เป็น “เมนเทนแนนซ์ฟรี” แต่ ในทางปฏิบัติแล้วก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสมอไป แบตเตอรี่ชนิดนี้จะใช้งานได้ ดีกับประเทศที่มีอากาศหนาว เนื่องจากในอากาศหนาวจะมีการระเหยต่ำ แต่กับ เมืองร้อนอย่างประเทศไทย ถึงจะออกแบบให้น้ำระเหยยากสักเพียงไร ก็ไม่สามารถควบคุมได้หมด แต่ถ้าเทียบปริมาณแล้วก็ยังน้อยกว่าแบตเตอรี่ ธรรมดา เรียกได้ว่าดูแลน้อยกว่ากันมาก ๆ แต่ไม่ใช่ “ไม่ต้องดูแล”