ซีนอน หรือ xenon คืออะไรดีกว่าไฟติดรถเดิมอย่างไร


วันนี้ทางเราจะมาพูดถึง ไฟ ซีนอน หรือ xenon นั้นดีอย่างไรและไม่ดีอย่างไร เนื่องจากทุกวันนี่มีคนสนใจเป็นจำนวนมาก แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ามันมีดียังไง นั้นเองครับ



1. หลอด xenon คือ หลอดที่ทำงานเหมือนไฟแฟลชถ่ายรูป แสงสว่างเกิดจากการอาร์คของไฟฟ้าข้ามขั้ว (ขั้วห่างกัน 5 mm) ผ่านแกสแรงดันสูง (2 bar)
เทอร์โบอัดหนักๆ อัดกันที่แรงดัน 1.2-1.5 bar

2. แก๊สในหลอด xenon เป็นแกสเฉื่อยชื่อ xenon (ถามเพื่อนๆที่เรียนเคมี จะรู้จักกันทุกคน) และมีแกสอื่นๆปนหลายอย่าง

3. ความสว่างของแสงที่ออก หน่วยวัดคือ L (ลูเมนส์ LUMENS) ไม่ใช่ K (Kelvin)
 K เป็นหน่วยวัดเปรียบเทียบ ว่าที่สว่างๆนั้น ให้สีเสมือนของที่กำลังร้อนที่กี่องศา K เสมือนร้อนกี่ K นะ
 ไม่ใช่ร้อนเท่านั้นๆ K จริง

4. ยิ่งมีองศาสีสูง (K ยิ่งสูง) ความสว่าง (L) ยิ่งน้อย
หลอด 10,000K สว่างไม่ถึง 1/2 ของหลอด 5,000K

 5. หลอด xenon เก๊ (zenon, xenan ฯลฯ) เป็นหลอดมีไส้ธรรมดาๆ แต่ใช้สีเคลือบหลอด เพื่อให้แสงไฟที่ออก มีสีเสมือนกับว่า เป็นหลอด xenon แท้

สีที่เคลือบ จะทำให้ความสว่างลดลง

หลอด plasma blue ของ PIAA ราคาแพง เพราะผลิตโดยทำให้ตัวแก้วของหลอด มีสีน้ำเงินจางๆ (ผสม cobalt เข้าไปในเนื้อแก้ว)
 ความสว่างจึงลดลงน้อย ไม่เกิน 20%

 หลอดไต้หวัน หลอดจีนแดง หลอดโนเนม .. ใช้สีเคลือบราคาถูกๆ
 การที่ความสว่างจะลดลง 40-50% จึงไม่ใช่เรื่องแปลก
 ดูเผินๆ เหมือนหลอดสว่างขึ้น เพราะเวลากลางคืน ตาคนเราไวต่อแสงสีน้ำเงินน้อย พอเห็นแสงสีน้ำเงินจ้าๆ จึงหลอกตัวเองว่า เห็นแสงสว่างมากๆ
 ถ้าไม่หลอกตัวเอง จะพบว่า ตอนกลางคืน ตาของคนเร็ว ไวต่อแสงสีแดง มากกว่าสีน้ำเงิน เป็นร้อยๆเท่า
 นอกจากจะไวกว่าแล้ว ยังพร่ามัวเพราะแสงสีแดง น้อยกว่าแสงสีน้ำเงิน เป็นร้อยๆเท่าเช่นกัน

 การใช้ของเก๊ ที่ให้แสงสว่างน้อยลง ให้แสงสว่างที่เห็นไม่ค่อยชัด ให้แสงสว่างที่ทำให้ตาพร่ามัวง่าย
 โดยคิดว่า มันสว่างกว่า ชัดเจนกว่า อันตรายไหมหละ?





“คำถามบ่อย แต่ คำตอบไม่บ่อย”

1.ค่า K ของหลอดไฟมีผลต่อความสว่างและสีของแสงที่ออกมาไหม
ตอบ  มีผล

ค่า K คือ อุณหภูมิสี (ไม่ใช่อุณหภูมิของไส้หลอด)ของแสงที่ออกมา โดยเทียบกับสีของของที่เผาจนร้อน จนอุณหภูมิที่ระบุ (กี่ K ก็ว่าไป)

หลอด 5000k คือ หลอดที่มีสีสันของแสงไฟ เหมือนของที่เผาจนร้อน 5500 องศา Kelvin

เน้น ... เน้น .... เน้น ...

สีสัน ไม่ใช่ความสว่าง
และ ...

K ยิ่งมาก ดูเหมือนสว่างมากขึ้น แต่จริงๆแล้ว สว่างน้อยลง

ยิ่งหลอด xenon ยิ่งเห็นผลชัด หลอด 4100k ให้ความสว่างประมาณ 3500 lumens ในขณะที่หลอด 10,000-12,000 ให้ความสว่างไม่เกิน 2000 lumens

หลอดมีไส้ทั่วๆไป ให้ความสว่าง 1200-1800 lumens

2. ค่า K มีผลต่อความร้อนภายในโคมไฟหน้าไหม Evil
ตอบ  ค่า K ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องความร้อนของหลอด ความร้อน และความสว่าง ขึ้นกับจำนวนวัตต์ของหลอด

3.ถ้า ค่า K มากๆจะทำให้โคมไฟหน้าขุ่นหรือละลายไหม (ถ้าเป็นโคมพลาสติก)  *bu28*
แล้วสรุปว่าค่า K คืออารัย? ประโยชน์คืออะไร? ยิ่งมาก ยิ่งทำไมหรือ?
ตอบ  ค่า K ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องความร้อนของหลอด ฉะนั้น จะขุ่นหรือไม่ขุ่น ไม่ได้เกี่ยวกับค่า K
K ยิ่งสูง ก็แค่สวย

 และที่เข้าใจผิดกันมากๆๆ คือ ค่า K ที่เหมาะสมนั้นคือ 4100-5500 (สีเหลือง หรือ เหลือง-ขาว)
 เพราะในเวลากลางคืน ตาคนเรา ไวต่อแสงที่มีโทนสีร้อน (เหลือง) มากกว่าโทนสีเย็นหลายเท่า
 ยิ่งแสงไฟ มีโทนสี K สูงเท่าไหร่ แสงที่สะท้อนกลับจากพื้นถนน หรือ วัตถุอื่นๆ จะยิ่งน้อยลงเรื่อยๆ และเห็นไม่ชัดมากขึ้น

ถ้าของที่มีโทนสีสูง (K สูง) ดีกว่า K ต่ำ .. เราคงเห็นเส้นถนน ที่ระบุถึงอันตราย เป็นสีขาวอมม่วง แทนที่จะเป็นสีเหลืองไปนานแล้วครับ

=> หลอด xenon มาตรฐาน (OEM) ใช้พลังงานน้อยกว่า แต่สว่างกว่าหลอด halogen

=> xenon แท้ ต้องกินไฟ 35w

=> หลอด xenon แท้ ประสิทธิภาพการเปลี่ยนไฟฟ้า เป็นแสงสว่าง อยู่ที่ 100L/W แต่หลอดมีไส้ทุกอย่าง ประสิทธิภาพไม่เกิน 20L/W

 ฉนั้นหลอด xenon กินไฟ 35w จะให้แสงสว่าง 3500L
 หลอดมีไส้ กินไฟ 50w แต่ให้แสงสว่างประมาณ 1000L

=>  ไฟที่ค่า K สูงๆ (เกิน 10,000) สวยมาก แต่มองถนนมืดๆ ไม่เห็น โดยเฉพาะถนนแคบๆ ต่างจังหวัด ที่ข้างทางเป็นหญ้า

แม้ในถนนหลวงสายเมน บางแห่ง แทบมองไม่เห็นเส้นขอบทางด้วยซ้ำไป

=>  หนักที่สุดคือ ไฟที่ค่า K เกิน 10,000 ในโคมแบบเก่า จะโดนฝนไม่ได้เลย
 หลายๆคน ในหลายๆกระทู้ เข้ามาบอกเพื่อนๆว่า ตอนฝนตก ต้องปิดไฟต่ำ (xenon) แล้วเปิด spot light เอาแทน

 หน้าหนาว .. ฝนไม่ตกแล้ว หมอกแถวๆกรุงเทพก็ไม่มี
 กว่าจะรู้อีกที ก็ต้องปีหน้า

=>  หลอดซีนอน เปิดปิดบ่อยไม่ได้
แค่การเปิด-ปิด เกินสามครั้งต่อชั่วโมง จะทำให้อายุหลอดลดลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง
วัยสะรุ่นบ้านเรา ไม่รู้ ... ต๊าดเครื่องบรึ้นไปหน้าปากซอย ดับเครื่อง แล้วบรึ้นใหม่ไปมหา'ลัย ก่อนไปรับสาว ฯลฯ ชั่วโมงนึงเปิดปิดเป็นสิบหน .. พังอะดิ